หนังสือพิมพ์ เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน.
บทความประจำ:
ข่าว
ชาวสุโขทัยฮือฮา ขุดบ่อบาดาล เจอน้ำรสซ่าเหมือนโซดา ไม่มีกลิ่น หวังเป็นน้ำแร่คุณภาพระดับโลก รอหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตรวจสอบ บริเวณสวนหลังบ้านของ พ.ท.คะเนตร รักวุ่น ข้าราชการบำนาญ อายุ 62 ปี เจ้าของบ้านที่พบน้ำจากการขุดเจาะบ่อบาดาล สงสัยว่าอาจจะเป็นน้ำแร่คุณภาพสูง เหมือนกับที่พบในพื้นที่ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี เมื่อปี 2564 จึงอยากให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ โดยบ้านหลังดังกล่าวอยู่ใน ต.นาเชิงคีรี อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย
| พ.ท.คะเนตร (เจ้าของบ้าน) เล่าว่า เมื่อ 2 เดือนก่อน ได้ว่าจ้างช่างให้มาขุดเจาะบ่อบาดาล ตรงทุ่งนาติดกับสวนผลไม้หลังบ้าน ซึ่งอยู่ห่างจากประปาหมู่บ้านแค่ 200 เมตร โดยขุดเจาะลึกลงไป 70 เมตรก็เจอน้ำพุ่งขึ้นมา โดยขณะนั้น ยังไม่รู้ว่าน้ำมีรสซ่าคล้ายโซดา กระทั่งได้จ้างช่างมาติดตั้งปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ แล้วพวกช่างได้ลองดื่มน้ำจากบ่อที่เพิ่งขุดเจาะ จึงรู้ว่ามีรสชาติแปลกคล้ายโซดา และซ่าติดลิ้น ไร้กลิ่น และเมื่อลองเอาไปรดต้นไม้ ก็สังเกตพบว่าต้นไม้ใบหญ้าจะมีสีเขียวเข้มกว่าปกติ เหมือนกับว่าในน้ำมีแร่ธาตุสูง ชาวบ้านที่ได้ลองดื่ม บอกว่า ยิ่งน้ำออกสีขุ่นก็จะยิ่งซ่ามาก แถมยังไม่มีกลิ่นสนิม หรือกลิ่นโคลนอีกด้วย
| ตอนนี้ชาวบ้านทั้งตื่นเต้นและดีใจ หวังว่าน้ำที่พบจะเป็นน้ำแร่คุณภาพระดับโลก ราคาขวดละ 3,000 บาท เหมือนกับที่เจอในพื้นที่ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี จึงอยากให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเข้ามาพิสูจน์ ตรวจสอบว่าแท้จริงคืออะไร มีสารปนเปื้อน เป็นพิษหรือไม่
|
| ทางด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์สอนวิทยาศาสตร์ประจำภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิทยาศาสตร์ และนักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ออกมาเตือนชาวบ้านถึงกรณีนี้ว่า ยังไม่ควรรีบนำมาบริโภค และยังอธิบายอีกว่า น้ำบาดาลโซดา เกิดจากน้ำบาดาลที่มีอุณหภูมิสูงไหลผ่านชั้นหินปูนยุคออร์โดวิเชียนที่มีองค์ประกอบเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) เมื่อหินปูนได้รับความร้อนและเกิดปฏิกิริยาการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมาและสะสมอยู่ในน้ำบาดาล ทำให้น้ำบาดาลพุในบริเวณนี้มีความซ่าคล้ายกับโซดา แต่หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมอยู่ในน้ำลดลง ความซ่าก็จะลดลงเช่นกัน ซึ่งคล้ายกับการเปิดฝาน้ำโซดาหรือน้ำอัดลมแล้วตั้งทิ้งไว้ ความซ่าก็จะลดลง
| ดังนั้น ก็อาจเป็นไปได้ว่า น้ำบาดาลโซดา ที่สุโขทัย อาจจะมีสารเคมีต่างๆ ในน้ำที่เป็นลักษณะเดียวกัน คือ น้ำบาดาลนี้อาจจะไหลผ่านชั้นหินปูน ที่มีองค์ประกอบเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) แล้วเกิดปฏิกิริยาคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมา และสะสมอยู่ในน้ำบาดาล ทำให้มีความซ่าคล้ายกับโซดา ซึ่งถ้าเอามาทิ้งเอาไว้ ก็จะลดความซ่าลงไป ส่วนที่ว่าจะนำไปใช้เป็น "น้ำแร่" สำหรับดื่มบริโภคได้หรือไม่ ต้องขึ้นกับผลการวิเคราะห์ถึงปริมาณแร่ธาตุและสารปนเปื้อนต่างๆ ในนั้น ถ้ามีสารเคมีที่เป็นอันตรายปนเปื้อนอยู่ ซึ่งกรณีนี้มีสิทธิสูง เพราะอยู่ในพื้นที่การเกษตร ไม่ควรนำมาบริโภคเด็ดขาด
|
|
|
|
|
|
|
|
|
หนังสือพิมพ์เขตไทย